คุณไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรที่ใหญ่โตที่จะสามารถระดมทุนได้ดี
กรณีศึกษา
จดหมายทางตรง 2 ฉบับ ที่ส่งมาในเดือนธันวาคม

ฉบับนี้เป็นการหาผู้บริจาครายใหม่ โดยเราเข้าใจว่าได้รายชื่อมาจาก
- เช่ารายชื่อจากองค์กรการกุศลอื่น
- เช่ารายชื่อจากผู้ขายที่มีรายชื่อผู้บริจาคประเภทเดียวกัน
- ใช้รายชื่อครัวเรือนตามรหัสไปรษณีย์ที่มุ่งไปที่กลุ่มผู้บริจาคที่ต้องการ
แล้วเขาเขียนถึงผู้บริจาคเหล่านี้อย่างไรน่ะหรือ ก็โดยการพูดถึงแบรนด์ของเขา ขอบคุณผู้บริจาคที่มีความเชื่อในบางสิ่ง
นั่นเป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างจะคาดการณ์ไปเองว่าควรจะต้องเขียนแนวนั้น ทั้งๆ ที่ Goodwill มีแบรนด์ที่แข็งแกร่งซึ่งผู้บริจาคส่วนใหญ่ก็เคยได้ยินเกี่ยวกับแบรนด์นี้ แต่ก็ยังไม่ใช่ข้อเสนอเพื่อการระดมทุนที่จะทำให้คนลงมือบริจาคได้ แบรนด์ดังๆ อย่าง Goodwill ส่วนมากมักไม่ประสบความสำเร็จเพราะเน้นไปที่การระดมทุน พวกเขาจะทำได้ดีกว่านี้ ถ้าพูดกับผู้บริจาคเกี่ยวกับโอกาสที่จะลงมือทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น
การมุ่งไปที่ผู้บริจาคมีลักษณะอย่างไร
ในทางตรงกันข้าม ลองดูซองจาก The Kehillah Jewish Education Fund ผู้ที่หาทุนให้กลุ่มโรงเรียนเอกชนในชิคาโก จดหมายฉบับนี้ส่งถึงผู้ที่เคยบริจาคมาก่อน และเน้นไปที่การลงมือทำ

จดหมายที่ส่งมาเป็นเพียงซองธรรมดาๆ (แต่ก็ฉลาดพอที่เลือกใช้สีเหลือง) สิ่งสำคัญที่พูดกับผู้บริจาคเป็นการนำเสนอใน 2 แนวทาง คือ โอกาสที่จะเพิ่มจำนวนบริจาคเป็น 2 เท่า และเน้นย้ำถึงความเร่งด่วน
ไม่มีอะไรที่เกี่ยวกับแบรนด์ ไม่มีการคาดเดาว่าผู้บริจาคเป็นใคร มากไปกว่าการขอเพิ่มเงินบริจาค ซึ่งเป็นการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการบริจาคที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง
ประเด็นก็คือ: คุณไม่จำเป็นต้องเป็นท็อปเท็นแบรนด์การกุศลที่จะทำการระดมทุนอย่างชาญฉลาดได้ คุณสามารถที่จะเป็นกลุ่มท้องถิ่นเล็กๆ ที่มีทีมระดมทุนเพียงแค่ 1 หรือ 2 คน และทำได้ดีกว่าองค์กรใหญ่ได้เลยทีเดียว เพียงแต่จำไว้ว่า:
ทำให้ข้อความการระดมทุนเกี่ยวกับผู้บริจาค ไม่เกี่ยวกับองค์กรของคุณ ผู้บริจาคไม่ได้ให้เพราะคุณเป็นองค์กรที่ดีเลิศ เขาให้เพราะเขาเป็นคนดีเยี่ยมที่ต้องการแชร์คุณค่าของคุณ
มีใครบ้างที่ทำงานภายใต้สมมติฐานนั้น
น่าเสียดายที่นักระดมทุนจำนวนมากไม่เคยทำ
ที่่มา: moceanic.com