การทำวิดีโอเพื่อการระดมทุนนั้นมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อการระดมทุนสำหรับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร จากข้อมูลของ Nonprofits Source พบว่า 57% ของผู้ที่รับชมวิดีโอเพื่อการกุศลจะบริจาค
แต่นั่นคือทั้งหมดก่อนหน้า COVID-19 ขณะนี้ผู้คนจำนวนมากต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน สื่อดิจิทัลและวิดีโอ จึงเป็นวิธีที่ผู้บริจาคที่มีศักยภาพสามารถเชื่อมต่อกับองค์กรการกุศลของคุณได้ ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ความสามารถขององค์กรของคุณในการสร้างวิดีโอที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนต้องการที่จะให้นั้นเป็นสิ่งนั้นสำคัญยิ่งในกลยุทธ์การระดมทุนของคุณ
ดังนั้น ใครสักคน (อาจจะด้วยความช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนร่วมห้องที่พวกเขากักตัวอยู่ด้วยกัน) จะสร้างวิดีโอที่จริงใจซึ่งจะกระตุ้นการบริจาคให้กับองค์กรการกุศลของคุณได้อย่างไร
เคล็ดลับสำคัญ 7 ประการที่จะช่วยให้ทุกคนสร้างเนื้อหาวิดีโอที่น่าสนใจสำหรับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
1. เลือกพื้นหลังที่เหมาะสม
เลือกสภาพแวดล้อมในชีวิตจริง เช่น สำนักงาน ห้องนั่งเล่น หรือสถานที่กลางแจ้ง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งที่รบกวน ยุ่งเหยิง หรือมีสิ่งใดก็ตามที่ไม่สนับสนุนเรื่องราว ข้อความ หรือภาพลักษณ์ขององค์กรของคุณ
2. ใช้แสงที่เหมาะสม
การใช้แสงธรรมชาติเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้วิดีโอประสบความความสำเร็จ อย่างไรก็ตามคุณอาจได้รับแสงธรรมชาติที่มากเกินไป วิธีที่ดีที่สุดคือ ถ่ายภาพกลางแจ้งในวันที่มีเมฆมาก หรือในช่วงเวลาทอง (หนึ่งชั่วโมงหลังพระอาทิตย์ขึ้นหรือหนึ่งชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ตก)
หากคุณเลือกถ่ายวิดีโอในร่ม แสงธรรมชาติยังคงเป็นทางออกที่ดีที่สุดของคุณ เลือกห้องที่มีแสงธรรมชาติส่องผ่านหน้าต่างบานใหญ่หรือหลายบาน จากนั้นคุณสามารถเพิ่มแหล่งกำเนิดแสงเพิ่มเติม เช่น โคมไฟเพดาน โคมไฟตั้งโต๊ะ และอื่นๆ เพื่อเพิ่มความสว่างมากขึ้นหากจำเป็น เล่นวีดีโอและทดสอบแสงด้วยตำแหน่งของวัตถุเพื่อดูว่าอะไรดูดีที่สุด ไม่ว่าในกรณีใด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าวัตถุไม่ได้หันหน้าเข้าหาหน้าต่างโดยตรง หรือใกล้เกินไป เพราะอาจส่งผลต่อภาพในวีดีโอ
3. มีเครื่องมือที่เหมาะสม
คุณไม่จำเป็นต้องซื้อกล้องใหม่สำหรับถ่ายทำวิดีโอ สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่มีกล้องที่ยอดเยี่ยมที่จะช่วยให้คุณสร้างวิดีโอสไตล์มืออาชีพได้ อย่าลืมทำสิ่งต่อไปนี้เมื่อบันทึกบนสมาร์ทโฟนของคุณ:
- ใช้กล้องหลัง – กล้องหลังของโทรศัพท์คุณภาพดีกว่า มีความละเอียดสูงกว่า และมีคุณสมบัติเพิ่มเติมภายในแอป
- วางกล้องให้นิ่งเพื่อหลีกเลี่ยงภาพไหวที่ไม่ต้องการ
- บันทึกในโหมดแนวนอน – พลิกโทรศัพท์ของคุณตะแคง
- อย่าใช้การซูม – การซูมบนสมาร์ทโฟนของคุณ คือ การซูมแบบดิจิทัล ไม่ใช่การซูมแบบออปติคอล ซึ่งไม่ดีต่อรายละเอียดหรือคุณภาพของภาพ
- ตั้งค่าโทรศัพท์ของคุณในโหมดใช้งานบนเครื่องบิน เพื่อหลีกเลี่ยงการหยุดชะงักและเสียงที่ไม่จำเป็นจากการแจ้งเตือนขณะที่คุณกำลังถ่ายภาพ
เคล็ดลับสำหรับมือโปร: หากคุณไม่มีใครสักคนในบ้านช่วยถ่าย ให้ใช้ขาตั้งกล้องหรือทางเลือกอื่นชั่วคราวเพื่อให้กล้องของคุณนิ่ง แม้แต่ถุงข้าวก็สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันภาพสั่นไหวที่ทำได้เองอย่างยอดเยี่ยมได้
4. ทำวิดีโอของคุณให้สั้น
56% ของวิดีโอทั้งหมดที่เผยแพร่ในปีที่แล้วนั้นมีความยาวน้อยกว่า 2 นาที ผู้คนต้องการเนื้อหาที่สั้นง่ายต่อการบริโภคและมีความเกี่ยวข้องกับพวกเขา วิดีโอโซเชียลมีเดียของคุณไม่จำเป็นต้องยาว แต่ต้องให้คุณค่า เน้นการสร้างเนื้อหาที่มีส่วนร่วม ตัดข้อมูลส่วนเกินออกและตรงประเด็น – คุณจะต้องแน่ใจว่า ผู้ชมได้รับการดึงดูดตั้งแต่เริ่มต้น เพราะผู้ชมที่ดูวิดีโอ 3 วินาทีแรกมักจะดูจนจบ และหากทำเสร็จ พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะบริจาคให้องค์กรของคุณมากขึ้น
5. เพิ่มคำบรรยาย
คำอธิบายข้างใต้ของวีดีโอและคำบรรยายแทนเสียงแบบปิดจะเปิดโอกาสในการเข้าถึงผู้ชมจำนวนมากขึ้น รวมถึงผู้ชมที่มีปัญหาในการได้ยิน หรือผู้ที่พูดภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากที่พูดในวิดีโอของคุณ หากความเสมอภาคเป็นคุณค่าที่สำคัญสำหรับองค์กรของคุณ ให้พิจารณาใช้เครื่องมือออนไลน์เพื่อสร้างคำบรรยาย แพลตฟอร์มเช่นYouTube ยังมีเครื่องมือที่ช่วยให้คุณเพิ่มคำบรรยายลงในวิดีโอของคุณได้อย่างง่ายดาย
6. ถ่ายวีดีโอไว้ล่วงหน้าและแก้ไข
ไม่ต้องกังวลกับความผิดพลาดขณะถ่ายทำ ถ่ายเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และใช้ซอฟต์แวร์และแอปตัดต่อวิดีโอออนไลน์เพื่อจัดการวิดีโอของคุณและตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีเพียงส่วนที่น่าสนใจที่สุดเท่านั้นที่จะทำเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายและเพื่อผู้ที่มีโอกาสเป็นผู้บริจาคของคุณ
7. แบ่งปันวิดีโอของคุณกับผู้บริจาคที่คาดหวัง
แบ่งปันวิดีโอของคุณบนโซเชียลมีเดียและในหน้าสำหรับการบริจาคขององค์กรของคุณ ใช้แพลตฟอร์มที่ช่วยให้คุณสามารถเพิ่มวิดีโอลงในแบบฟอร์มการบริจาคของคุณได้โดยตรง เมื่อพวกเขาได้รับแรงบันดาลใจในการบริจาค อย่าลืมทำให้คนเข้าถึงแบบฟอร์มการบริจาคของคุณได้ง่าย เพื่อให้ผู้บริจาคสามารถติดต่อกับองค์กรของคุณได้ง่ายขึ้น
ที่มา: MobileCause
เขียนโดย LEAH LIBOLT