ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ผู้ให้บริการด้านสุขภาพและสถาบันต่างๆ ได้เพิ่มแนวทางเป็นนวัตกรรมที่ยั่งยืนและเป็นดิจิทัลมากขึ้น เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพของประชากร และผู้เขียนคาดว่าแนวโน้มนี้จะดำเนินต่อไป
เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ที่ผู้เขียนได้แนะนำทีมผู้ให้บริการด้านสุขภาพทั่วสหรัฐอเมริกาให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและเครื่องมือต่างๆ เช่น พอร์ทัลสำหรับผู้ป่วย เครื่องมือติดตามสุขภาพ และการตรวจสอบระยะไกล เพื่อช่วยเปลี่ยนอุตสาหกรรมจากการดูแลแบบตอบสนอง เป็นการดูแลเชิงป้องกัน อย่างไรก็ตาม ด้วยการใช้เทคโนโลยีทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันด้านสุขภาพ
เราอยู่ในจุดพลิกผันในการนำมุมมองด้านสุขภาพของประชากรมาใช้ในเส้นทางการพัฒนาสุขภาพ และผู้เขียนเชื่อว่าการมุ่งเน้นที่ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (social determinants of health: SDH)ต่อไปนั้นเป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในระยะยาว จากคำนิยามขององค์การอนามัยโลก (WHO) ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ หมายถึง สภาพแวดล้อมที่บุคคลเกิด เติบโต ทำงาน ดำรงชีวิตอยู่ ไปจนถึงระบบ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขในชีวิตประจำวัน อาทิ นโยบายและระบบเศรษฐกิจ วาระการพัฒนา บรรทัดฐานทางสังคม นโยบายสังคมและระบบการเมือง ปัจจัยที่ไม่ใช่ทางการแพทย์นี้ มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์และความไม่เท่าเทียมกันด้านสุขภาพ และรวมถึงสภาวะที่ผู้คนอาศัยอยู่ เรียนรู้ ทำงาน และเล่น การศึกษาแนะนำว่าปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพนั้น มีสัดส่วนระหว่าง 30%-55% ของผลลัพธ์ด้านสุขภาพ ซึ่งหมายความว่ายิ่งตำแหน่งทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำเท่าใด โอกาสที่สุขภาพจะแย่ลงก็ยิ่งสูงขึ้น
ในขณะที่การแทรกแซงเพื่อแก้ไขความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพต้องใช้ความพยายามในหลายด้านร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การดำเนินการทางยุทธวิธี 4 อย่าง ภายใต้อิทธิพลหรือขอบเขตที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพและผู้นำทางธุรกิจสามารถสำรวจเพื่อสนับสนุนการลดความไม่เท่าเทียมกันด้านสุขภาพได้ ดังนี้
1. ทุนที่สำคัญเชิงยุทธศาสตร์ ผู้นำต้องมีความตั้งใจที่จะขับเคลื่อนในมุมมององค์รวมเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันด้านสุขภาพและการแทรกแซงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงการดำเนินการประเมินความพร้อมด้านปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ แล้วพัฒนากลยุทธ์การแทรกแซง แผนงาน และตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักที่เหมาะสม การจัดแนวปฏิบัติ นโยบาย กระบวนการและเทคโนโลยี โดยเจตนาเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความสำเร็จในระยะยาว มุมมองของสถาบันแพทยศาสตร์ในเรื่องนี้ โดยองค์กรเน้นการดำเนินการเฉพาะที่พัฒนาโครงสร้างและกระบวนการ เป็นจุดเริ่มต้น
2. ความร่วมมือกับองค์กรรากหญ้า การจัดการกับปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพนั้นจำเป็นต้องมีการบูรณาการทั้งการดูแลสังคมและการดูแลสุขภาพ ผู้ให้บริการและผู้นำในอุตสาหกรรมควรสำรวจความร่วมมือและระบบการอ้างอิงแบบวงปิดที่เชื่อมโยงความต้องการของผู้ป่วยกับการส่งต่อไปยังบริการทางสังคมที่เหมาะสม (ตรวจสอบให้แน่ใจว่าความเป็นอิสระของผู้ป่วยอยู่ในระดับแนวหน้า) ความร่วมมือด้านการแพทย์และกฎหมายของศูนย์ให้บริการด้านกฏหมายแห่งเท็กซัส ในออสตินเป็นตัวอย่างที่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่ฝังตัวอยู่ที่คลินิกชุมชน (ซึ่งเป็นเครือข่ายของศูนย์สุขภาพที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาลกลาง) มีการจัดลำดับความสำคัญของความร่วมมือในชุมชน และการตรวจสอบประสิทธิภาพของการอ้างอิงที่จะช่วยให้ผู้ให้บริการจัดลำดับความสำคัญความต้องการของประชากรที่มีผลกระทบสูง และมีส่วนร่วมกับพวกเขาอย่างเป็นระบบ
3. เน้นการดูแลบุคคลในองค์รวม มีตัวเลือกซอฟต์แวร์หลายตัวสำหรับผู้ให้บริการเพื่อใช้ประโยชน์กับงาน ด้านปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ อย่างไรก็ตาม แพทย์ควรระบุปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมใดๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการพบผู้ป่วยด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้มีความไม่เท่าเทียมกัน (เช่น ไม่มีความรู้ด้านดิจิทัลหรือมีปัญหาด้านการเชื่อมต่อ) และอุปสรรคต่างๆ เมื่อมีการระบุความต้องการทางสังคม ไม่ว่าจะผ่านเครื่องมือคัดกรองดิจิทัลหรือโดยแพทย์โดยตรง ผู้ให้บริการสามารถเตรียมและรับทรัพยากรที่เหมาะสมในการช่วยเหลือผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชนอาจจำเป็นต้องเชื่อมต่อผู้ป่วยกับบริการทางสังคมด้านอาหารหรือการดูแลทันตกรรม ประสบการณ์และความทุ่มเทของ MercyOne ในการปรับปรุงกระบวนการคัดกรองเป็นจุดอ้างอิงที่ดี
4. เพิ่มขั้นตอนการทำงานทางคลินิกด้วย AI ผู้ให้บริการสามารถลดการอ่านข้อมูลที่หลีกเลี่ยงได้และปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ ตลอดเส้นทางการรักษาของผู้ป่วย และเสริมด้วย AI เพื่อให้คำแนะนำในการแทรกแซงต่างๆ เช่น Northwell Health ประสบความสำเร็จในการผสมผสาน AI เข้ากับโครงสร้างการทำงานเพื่อจัดการกับอุปสรรคเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลเต็มรูปแบบเกี่ยวกับปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นประจำ ผู้ป่วยจะได้รับการคัดกรองในเชิงรุกและสม่ำเสมอด้วยความสามารถที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อการเข้าถึงที่เหมาะสม การมีส่วนร่วมด้านสุขภาพเชิงรุก และการแทรกแซงในการดูแล
การปรับปรุงผลลัพธ์และแนวโน้มด้านสุขภาพของประชากรนั้นควรทำควบคู่ไปกับการจัดการกับปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพอย่างใกล้ชิด ซึ่งปัญหานี้จะไม่ได้รับการแก้ไขในชั่วข้ามคืน จากการสำรวจล่าสุดของ Anthem ในผู้ใหญ่กว่า 5,000 คนนั้น ส่วนใหญ่กล่าวว่าชุมชนของพวกเขาประสบปัญหาด้านสุขภาพบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพด้วย
แม้ว่าผู้ให้บริการด้านสุขภาพและสถาบันต่างๆ จะแก้ปัญหาเองไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็ได้มีการดำเนินการในทันทีเท่าที่สามารถทำได้เพื่อเริ่มก้าวไปข้างหน้า ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมในกลยุทธ์ การร่วมมือกับองค์กรรากหญ้า มุ่งเน้นที่การดูแลบุคคลในองค์รวม และการใช้ประโยชน์จาก AI เป็นสำคัญ
ที่มา Sindhu Kutty Forbes Councils Member