คนคุณภาพของเครือซีพี

คุณธนินท์ เจียรวนนท์ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล จึงชอบชักชวนคนเก่ง คนมีความสามารถเข้ามาร่วมงานในเครือซีพี ซึ่งคุณธนินท์ก็ได้พูดถึงเคล็ดลับในการเลือกคนเก่งและมีความสามารถไว้น่าสนใจว่า

“การที่จะจ้างคนเก่งนี้ พูดง่ายทำยากนะครับ การจะจ้างคนเก่งต้องมีจังหวะ เวลา และโอกาสก็สำคัญ ถ้าเราจะจ้างคนเก่งมาทำงานไม่ใช่มีเงินแล้วจะจ้างได้ ยังต้องขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา ขึ้นอยู่กับงานของเราด้วย

เพราะถ้าเราเชิญคนเก่งมาทำงานให้เรา เราต้องมั่นใจเขา แล้วเราต้องเชื่อเขาด้วย เพราะถ้าเชิญเขามาแล้ว เรายังต้องบอกว่าตรงนี้คุณต้องเชื่อผม ต้องอย่างนี้ ต้องอย่างนั้น เขาจะบอกอย่างนี้ว่า “ถ้าอย่างนี้คุณทำเองแล้วกัน คุณไม่ต้องเชิญผมมาหรอก”

ข้อคิดอีกอันหนึ่ง เกี่ยวกับคนเก่ง คือ ข้อที่หนึ่งคนเก่งต้องการอำนาจ ข้อที่สองคนเก่งต้องการเกียรติ ข้อที่สามถึงจะเป็นเงิน เพราะว่าคนเก่งต้องการมีอำนาจไปแสดงความเก่งของเขา ถ้าเขาไม่มีอำนาจเขาจะไปแสดงอะไร”

หลักการหาคนเก่งมาทำงานด้วยคือ

การหาคนดีที่เก่งมาทำงาน มากกว่าคนเก่งแต่ไม่ดี เรื่องของโหงวเฮ้งเป็นเรื่องรองลงไป

เพราะคนดีนั้นสามารถพัฒนาได้ แต่คนเก่งจะทำให้เป็นคนดี ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง หรือเสียสละเพื่อส่วนรวมนั้นอาจจะยากกว่าหลายเท่านัก

“…ธุรกิจจะดำเนินไปได้หรือขยายตัวได้ดีหรือไม่ หรือธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ล้วนขึ้นอยู่กับบุคลากรหรือคนในองค์กร เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมาจากคน เงินก็มาจากคน เทคโนโลยีก็มาจากคน”

ผมถือว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ที่ล้ำค่า เป็นหัวใจของทุกองค์กร

เราจึงต้องหาคนที่มีความรับผิดชอบสูง มีความมานะพยายาม มีความรู้ความสามารถ และมีความซื่อสัตย์สุจริต ให้มาอยู่ในองค์กรมากๆ จึงจะสามารถนำพาองค์กรหรือบริษัทไปสู่ความสำเร็จได้

“…นักธุรกิจต้องไม่มองเพียงบริษัท แต่เราต้องคิดถึงพนักงาน ต้องคิดถึงผู้บริหารว่าทำอย่างไรให้คนเก่งๆ อยู่ต่อ ถ้าจะให้เขาอยู่ต่อก็ต้องให้งานเขา ต้องให้เขาเห็นอนาคต สิ่งเหล่านี้สำคัญมาก

ซีพีตั้งคุณสมบัติของคนเก่งไว้คือ ต้องทำจริง รู้จริง มีความรับผิดชอบสูง ขยันทุ่มเทและพยายาม ใจกว้างให้ก่อน เสียสละ ยอมเสียเปรียบ คิดถึงประโยชน์ของคนอื่นก่อน รู้จักให้อภัย รู้จักตอบแทนบุญคุณ ถ้าคนที่ไม่รู้จักตอบแทนบุญคุณ เก่งอย่างไรเราหมดตัวแน่ ยิ่งเก่งเรายิ่งหมดตัว

เคารพผู้บังคับบัญชาและให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา ถ้าคนไหนเก่งแล้วไม่เคารพผู้บังคับบัญชาที่ใหญ่ หรือมองข้ามผู้ใต้บังคับบัญชา คนอย่างนี้ไม่เก่งจริง เก่งแต่ไม่ใหญ่เพราะผู้ใต้บังคับบัญชาไม่พอใจ ผู้บังคับบัญชาก็ไม่พอใจแล้วจะใหญ่ได้อย่างไร ถึงจะเก่งก็ไม่มีประโยชน์

รู้จักประชาสัมพันธ์ รู้จักใช้คนเก่งและรักษาคนเก่ง ถ้าใช้คนเก่งไม่เป็นแล้วทำเอง 16 ชั่วโมง 24 ชั่วโมงก็ไม่ไหว เราต้องรู้จักศึกษาจุดเด่นของคน ต้องรู้จักจุดเด่นและจุดด้อยของผู้ใต้บังคับบัญชา คือผู้บังคับบัญชาไม่ต้องไปศึกษาจุดด้อยของเขาแล้วเราจะเกรงใจเขา เราจะนับถือเขา แต่จำเป็นต้องไปศึกษาจุดอ่อนผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อเราจะได้ใช้งานเขาไม่ให้ผิดทาง

สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องรู้จักสร้างคน รักษาคน ใช้คนเก่งและรักษาคนเก่ง คนเก่งสำคัญที่สุด เราต้องให้โอกาส ให้อำนาจ ให้เกียรติ ให้เงินเดือนไม่ด้อยกว่าเถ้าแก่

ถ้าบริษัทมีปัญหาแล้วต้องการให้เขาเข้าไปแก้ไข เราต้องเคลียร์ก่อน ต้องตกลงให้เข้าใจกันก่อนแล้วก็ถามเขาเลยว่าต้องการคนไหนอยู่ ถ้าเขาจะเอาออกทั้งหมดผมก็รับมาทั้งหมด ถ้าเขาต้องการคนไหนก็ต้องให้อำนาจเขาร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่ว่าส่งเขาไปแก้ปัญหาแล้วเราส่งคนที่เขาสั่งการไม่ได้ อย่างนี้งานก็ไม่เดินเพราะไม่เข้าใจ ไม่เป็นคู่ขากัน แล้วงานจะสำเร็จได้อย่างไร แล้วก็ต้องพยายามตรวจสอบผลงาน

ให้โอกาสในการไปดูงานต่างประเทศ ไปศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ก้าวทันไม่ให้ล้าสมัย ไปดูงานคนเดียวไม่พอ ต้องให้ระดับรองลงไปอีกชั้นหรือสองชั้นไปศึกษาดูงานด้วย ต้องให้ทีมมองแบบเดียวกัน ไม่ใช่ประธานมองเห็นคนเดียว และต้องเรียนรู้ทุกเวลา…”

ที่มา กลยุทธ์สร้าง “คนคุณภาพ” ของสุดยอดซีอีโอและองค์กรระดับโลก โดย ทศ คณนาพร

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.